Welcome to our website, we have over 18 years of experience in ISO Consultant.

การบูรณาการมาตรฐาน ISO ไปสู่ ESG

การบูรณาการมาตรฐาน ISO ไปสู่ ESG

เหตุผลที่ ESG มีความสำคัญ
1.ความสนใจของนักลงทุน
2.แรงกดดันเรื่องกฎระเบียบ
3.ความต้องการของผู้บริโภค
4.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว

และในประเทศไทยกำหนดให้บริษัที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนเพื่อเป็นการสะท้อนในการดำเนินงานทางธุรกิจสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม โดยแสดงในแบบรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (69-1) และต้องมีการรายงานในแบบแสดงรายการข้อมูลรายงานประจำปี (56-1) ต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การบูรณาการโดยการนำมาตรฐาน ISO ที่เป็นเครื่องมือในระดับสากลที่ทำให้องค์กรปฏิบัติตามข้อบังคับ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลที่สอดคล้องกับ ESG และ SDGs จะนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนและให้คงามสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปิดเผยรายงานความยั่งยืน

มิติด้านสิ่งแวดล้อมที่บูรณาการร่วมกับ ISO จะมองในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมชาติและยั่งยืน การตรวจวัดมลพิษและการจัดการมลพิษของเสียทางด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายและกฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม
1.ISO 14001 (Environmental Management Systems): มาตรฐานนี้ช่วยให้บริษัทจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ  ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับปรุงกิจกรรมกระบวนการผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานที่ยั่งยืน
2.ISO 50001 (Energy Management Systems): มาตรฐานนี้เน้นการปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มสมรรถนะทางด้านการใช้พลังงานผ่านรูปแบบการใช้พลังงาน ปริมาณการใช้พลังงาน และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยมีวิธีการทบทวนพลังงาน (Energy Review) ท้ายที่สุดรวมไปถึงลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมการผลิต
3.ISO 14064 (Greenhouse Gases): มาตรฐานนี้ให้แนวทางในการตรวจวัด การจัดการ และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีการคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร ทั้ง 3 Scope เพื่อวิเคราะห์แหล่งที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากที่สุด และหาแนวทางในการดูดกลับและลดก๊าซเรือนกระจกในระดับถัดไป

มิติด้านสังคมที่บูรณาการร่วมกับ ISO
1.ISO 45001 (Occupational Health and Safety Management Systems): มาตรฐานนี้ช่วยในการสร้างสถานที่ทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานมีทปลอดภัย และดูแลในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ใส่ใจในเรื่องการมีสุขภาพดีสำหรับพนักงาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและโรคภัย
2.ISO 26000 (Guidance on Social Responsibility): มาตรฐานนี้ให้แนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและช่วยให้บริษัทสามารถประเมินและปรับปรุงการปฏิบัติด้านสังคม เช่นผลประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานภายในองค์กรที่ควรได้รับ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ในการลาคลอดบุตร การกำหนดเวลาในการทำงานที่หยืดหยุ่น การใช้แรงงานเด็ก ค่าตอบแทนของพนักงานที่ควรจะได้รับอย่างเป็นธรรม รวมไปถึงการเคารพความแตกต่างและความเสมอภาคกันในองค์กรให้อยู่ร่วมกันได้อย่างดี

มิติด้านเศรษฐกิจและธรรมภิบาลที่บูรณาการร่วมกับ ISO
1.ISO 9001 (Quality Management Systems): มาตรฐานนี้ช่วยเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการคุณภาพ ซึ่งเป็นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ แสดงให้เห็นถึงการกำกับดูแลงานที่ดี
2.ISO 37001 (Anti-Bribery Management Systems): มาตรฐานนี้ช่วยเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในการดำเนินธุรกิจ และช่วยป้องกันการทุจริตและการติดสินบน
3.ISO 27001 (Information Security Management System: ISMS) ระบบมาตรฐานด้านความปลอดภัยสารสนเทศ มาตรฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ซึ่งใช้หลักการพื้นฐานของความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security)
4.ISO 31000 (Risk Management Self Assessment Exam) ระบบมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง องค์กรที่บริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมีแนวโน้มที่จะป้องกันองค์กรและประสบความสำเร็จในการเติบโตทางธุรกิจได้ สิ่งที่ท้าทายสำหรับธุรกิจจริง ๆ คือการรวบรวมการปฏิบัติการที่ดีในการดำเนินงานและสามารถใช้ในด้านกว้างของการทำงานขององค์กร
5.ISO 22301(Business Continuity Management) เป็นระบบมาตรฐานที่ทำให้องค์กรมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อการดำเนินธุรกิจ และยังเป็นกรอบการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ไม่ว่าจะชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล

การบูรณาการมาตรฐาน ISO เข้ากับ ESG
1.การประเมินและวางแผนเริ่มต้น ด้วยการประเมินความต้องการและความเสี่ยงขององค์กรในแต่ละด้านของ ESG จากนั้นวางแผนการดำเนินงานที่รวมมาตรฐาน ISO ที่เหมาะสม
2.การฝึกอบรมและการสื่อสาร การฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจในหลักการของ ESG และมาตรฐาน ISO ที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการสื่อสารที่ดีจะช่วยสร้างความตระหนักรู้และความร่วมมือในองค์กร
3.การตรวจสอบและการปรับปรุงใช้การตรวจสอบภายในและการตรวจประเมินภายนอกเพื่อประเมินผลการดำเนินงานและหาจุดที่ควรปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การบูรณาการมาตรฐาน ISO กับ ESG จะช่วยให้องค์กรมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ESGA ไม่ใช่กระแสนิยมแต่เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์กรแบบความยั่งยืนตาม 3 เสาหลัก ทางด้าน E S G พิจารณาจาก 3 มิติ (ESG) เป็นเรื่องภายในองค์กรที่ต้องปฏิบัติและทำอยู่แล้ว แต่เป็นการบูรณการแบบองค์รวม โดยการนำมาตรฐาน ISO ที่เป็นเครื่องมือวัดในการดำเนินงานที่บรรลุข้อกำหนดและการดำเนินงานอย่างยั่งยืนตามหลัก ESG ทำให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม ปรับตัวได้อย่างง่ายเพื่อให้เข้ากับ ESG และการบูรณาการในการยึดตามข้อกำหนด ISO และ ESG จะทำให้ตอบโจทย์ในการดำเนินงานตามหลัก SDGs ทั้งหมด 17 ข้อ

 

 

 80
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์