Welcome to our website, we have over 18 years of experience in ISO Consultant.
  • หน้าแรก

  • KM

  • แนวทางการจัดการก๊าซเรือนกระจกด้วย ISO14064-1

แนวทางการจัดการก๊าซเรือนกระจกด้วย ISO14064-1

  • หน้าแรก

  • KM

  • แนวทางการจัดการก๊าซเรือนกระจกด้วย ISO14064-1

แนวทางการจัดการก๊าซเรือนกระจกด้วย ISO14064-1

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases: GHGs) ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและที่องค์กรต่าง ๆ มักให้ความสำคัญในการตรวจวัดและรายงานตามมาตรฐาน ISO 14064-1
1. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂)
แหล่งที่มา: การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการเผาไหม้ชีวมวล การผลิตปูนซีเมนต์ และการตัดไม้ทำลายป่า
ผลกระทบ: มีปริมาณการปล่อยสูงที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด
2. มีเทน (CH₄)
แหล่งที่มา: การทำปศุสัตว์ (จากการย่อยอาหารในสัตว์เคี้ยวเอื้อง) การทำเกษตรกรรม การผลิตและการขนส่งของก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน การสลายตัวของของเสียในสถานที่ฝังกลบขยะ
ผลกระทบ: มีศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่าในระยะเวลา 100 ปี
3. ไนตรัสออกไซด์ (N₂O)
แหล่งที่มา: การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในเกษตรกรรม การเผาไหม้เชื้อเพลิง และกระบวนการทางอุตสาหกรรมบางชนิด
ผลกระทบ: มีศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 298 เท่าในระยะเวลา 100 ปี
4. ก๊าซฟลูออโรคาร์บอน (HFCs, PFCs, SF₆, NF₃)
แหล่งที่มา:
HFCs (Hydrofluorocarbons): ใช้ในเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น
PFCs (Perfluorocarbons): ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอะลูมิเนียมและการผลิตเซมิคอนดักเตอร์
SF₆ (Sulfur hexafluoride): ใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง
NF₃ (Nitrogen trifluoride): ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และแผงโซลาร์

และในส่วนของมาตรฐานการ CBAM (Carbon Border Adjustment) จะต้องมีการปรับค่าคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนส่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกนอกพรมแดน มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจของประเทศไทยที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป
โดยบริษัทที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องมีการจัดทำรายงาน "One-Report" เป็นการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (ESG) ของบริษัทสะท้อนให้เห็นการงานของธุรกิจที่มุ่งเน้นไปสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเคารพสิทธิมุษยชน

ISO14064-1 เป็นการประเมินก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร
ISO14064-2 ข้อกำหนดและข้อแนะนำในระดับโครงการสำหรับการวัดปริมาณและการติดตามตรวจสอบรวมไปถึงการรายงานการลดการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก
ISO14064-3 เป็นการทวนสอบและตรวจสอบข้อมูลเอกสารในการกำหนดขอบเขตของการรายงาน การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์ และการรายงานข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

โดยมีหลักการในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านการประเมินก๊าซเรือนกระจกที่ดำเนินการอยู่ให้มีความถูกต้องและเที่ยงตรง โดยใช้หลักการ "RCAT" 5 ประการ
1.Relevance (ตรงประเด็น)
2.Completeness (ความสมบูรณ์)
3.Consistency (ความไม่ขัดแย้ง)
4.Acuuracy (ความถูกต้อง)
5.Transparency (ความโปร่งใส)

ขั้นตอนและกระบวนการประเมินก๊าซเรือนกระจก ตาม ISO1406-1
1. การเตรียมการ การจัดทำโครงสร้างการจัดการ: กำหนดทีมงานและบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการ
1.1 การระบุขอบเขตของการรายงาน (Boundary Setting):
กำหนดขอบเขตขององค์กร (Organizational) แบ่งออกเป็น 1.คำนวณหรือกำหนดตามสัดส่วนขององค์กร (Equity Control) 2.คำนวณหรือกำหนดแบบ (Control Approach) แบ่งออกเป็น Operational Control (เลือกตามแบบกระบวนการทำงาน) และ Financial Control (เลือกตามกระบวนการทางด้านการเงิน)
1.2 การกำหนดขอบเขตของการรายงาน (Reporting)
- แบ่งตาม Scope ของแหล่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้ง 3 Scope ตามแนวทางการประเมินก๊าซเรือนกระจกของ TGO (อบก.)
- แบ่งตาม Category ของแหล่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้ง 6 Category ตามแนวทางการประเมินก๊าซเรือนกระจกของ ISO14064-1 
มีแหล่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ทาง ได้แก่ 1.การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากองค์กร (Direct GHG Emissions and Removals) 2.การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Indirect GHG Emissions) 3.การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ ขององค์กร (Other Indirect GHG Emissions)

2.การเก็บข้อมูลและคำนวณ: เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และใช้สูตรการคำนวณตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน เพื่อหาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การคำนวณก๊าซเรือนกระจก มี 3 ขั้นตอนหลัก
1.Identification กำหนดแหล่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้ตามขอบเขตของการรายงาน (รายงานตาม อบก./รายงานตาม ISO14604-1)
2.Selection การเก็บปริมาณการใช้ข้อมูลการใช้งานในแต่ละกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (อ้างอิงหลักฐานการได้มาของปริมาณการใช้)
3. Calculation การคำนวณ โดยใช้ Activity Data x ค่า EF x ค่า GWP

3. การตรวจสอบและรับรอง
การตรวจสอบภายใน: ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลที่ได้รับมา
การตรวจสอบและรับรองจากภายนอก (Third-Party Verification): จัดให้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก เพื่อให้มั่นใจในความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูล

4. การจัดทำรายงาน
การจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: รายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดตามมาตรฐาน TGO (อบก.)/ISO14064-1
การสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูล: สื่อสารข้อมูลและรายงานผลให้กับผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักลงทุน พนักงาน และสาธารณชน

5. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การติดตามและประเมินผล: ติดตามและประเมินผลการจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง
การวางแผนและดำเนินการปรับปรุง: วางแผนและดำเนินการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 14064-1 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนและหาแนวทางในการพิจารณาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็น 1.Initiatives ในระบบมาตรฐาน ISO ในการเพิ่มผลพลิตของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ การลดของเสียในกระบวนการผลิต การจัดการพลังงาน และการจัดการสิ่งแวดล้อม 2.Project ในการจัดทำโครงการขึ้นมา (ISO14064-2) เพื่อเป็นแนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจก 3.Set Target พิจารณาจากเกณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ และความสามารถขององค์กรในการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร รวมไปถึงดูบริบทและสภาพภูมิประเทศ โดยอยู่บนพื้นฐานของการคิดแบบ Risk Base-Thinking 


 51
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์