2.1) จากการตรวจวัด
ทําการตรวจวัดปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกโดยตรง ณ แหล่งปล่อยหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องหรือเว้นช่วงเป็นระยะ โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์การตรวจวัดที่ได้มาตรฐาน ตามวิธีการตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะทําให้ได้ข้อมูลปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่มีความถูกต้องสูง
2.2) จากการคํานวณ
การหาปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการคํานวณสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การสร้างโมเดล หรือการทําสมการมวลสารสมดุล หรือการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ facility-specific หรือการคํานวณโดยใช้ข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร คูณกับค่าแฟกเตอร์การปล่อย หรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และแสดงผลให้อยู่ในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent)
2.3) จากการตรวจวัดร่วมกับการคํานวณ
องค์กรสามารถหาปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการตรวจวัดร่วมกับการคํานวณได้ตัวอย่างเช่น การนําข้อมูลปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่จัดเก็บ และข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ซึ่งได้จากการตรวจวัด มาทําการคํานวณปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้โดยอาศัยสมการมวลสารสมดุล เป็นต้น
หากมีการใช้ข้อมูลกิจกรรมประกอบการคํานวณ องค์กรต้องคัดเลือกหรือพัฒนาค่าแฟกเตอร์การปล่อยหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ที่ซึ่ง
5.1) การคํานวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดําเนินงานต่างๆ ภายในองค์กร (carbon source) สามารถแสดงเป็นตัวอย่างแยกตามลักษณะของกิจกรรม
5.2) กิจกรรมขององค์กรที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (carbon sink)