Welcome to our website, we have over 18 years of experience in ISO Consultant.
  • หน้าแรก

  • KM

  • 7 หัวข้อหลักสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานด้าน CSR:มาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO26000)

7 หัวข้อหลักสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานด้าน CSR:มาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO26000)

  • หน้าแรก

  • KM

  • 7 หัวข้อหลักสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานด้าน CSR:มาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO26000)

7 หัวข้อหลักสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานด้าน CSR:มาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO26000)

7 หลักการ (Principles) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่

1. ความรับผิดชอบ (Accountability) การรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ บริการและการปฏิบัติงานที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม

2. ความโปร่งใส (Transparency)ความโปร่งใสในการตัดสินใจและการดำเนินงานที่มีผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

3. การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Ethical Behavior) การยึดมั่นปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรมทั้งความชื่อสัตย์ ไม่เลือกปฏิบัติ และยุติธรรม

4. การเคารพต่อผลประโยชน์ของผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย (Respect for Stakeholder Interests) การเคารพ พิจารณาและตอบสนองต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียทุกกลุ่มขององค์กร

5. การเคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for the Rule of Law) การยอมรับการปฏิบัติตามหลักนิติธรรมหรือการปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับองค์การตลาด

6. การเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวทางของสากล (Respect for International Norms of Behavior) การเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่สากลกำหนด ร่วมกับ การยึดมั่นการดำเนินงานตามหลักนิติธรรมที่

รัฐบาลกำหนด อย่างเคร่งครัด

7. การเคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for Human Rights) การให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและยอมรับถึงความสำคัญ และความเป็นสากลของหลักการ

7 หัวข้อ (Core Subjects) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่

1. การกำกับดูแลองค์กร (ธรรมาภิบาล)

2. สิทธิมนุษยชน

3. การปฏิบัติด้านแรงงาน

4. สิ่งแวดล้อม

5. การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม

6. ประเด็นด้านผู้บริโภค

7. การมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาของชุมชน

7 หัวข้อหลักสู่ความยั่งยืน เติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมกับชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม โดยให้ความรับผิดชอบเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน ประจำทั่วทั้งองค์กรได้แก่

1. ธรรมาภิบาล
 
2. สิทธิมนุษยชน

3. การปฏิบัติด้านแรงงาน
 
4. สิ่งแวดล้อม
 
5. การปฏิบัติที่เป็นธรรม
 
6. ประเด็นด้านผู้ใช้บริการ
 
7. การมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาชุมชน

1. ธรรมาภิบาล (Organizational Governance)

ธรรมาภิบาลเป็นกลไกขั้นต้นสำหรับการขับเคลื่อนให้ องค์การตลาดปฏิบัติงานด้วยความเป็นเลิศภายใต้ หลักการคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ โดยผู้ที่มีบทบาทหลักในการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จได้แก่ คณะกรรมการ อต. ในฐานะผู้แทนเจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้นภาครัฐ ดังนั้น จึงมีความสำคัญที่คณะกรรมการองค์การตลาด ต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำหลักการด้านธรรมาภิบาลนำสู่การปฏิบัติจริง ภายในองค์การตลาด จนเกิดผลสำเร็จโดยเป็นการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล และสอดรับกับหลักการกำกับดูแลที่ดีในมิติบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร) กำหนด ได้แก่ การกำหนดทิศทางและค่านิยมด้านการกำกับดูแล เพื่อทำให้ ปฏิบัติงานโดยรับผิดชอบต่อผลจากการกระทำที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม การมีภาวะผู้นำด้านการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการคำนึงถึงความยั่งยืน การตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ อย่างสมดุล และการส่งเสริมให้เกิดระบบการกำกับดูแลที่ดีที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนให้ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายด้านการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาความยั่งยืนได้ตามแนวทางที่เจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้นภาครัฐกำหนด

2. สิทธิมนุษยชน (Human Rights)

สิทธิมนุษยชนเป็นหลักการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับบุคคล โดยเป็นการผนวกรวมหลักปฏิบัติเชิงพฤติกรรมจริยธรรมกับการจัดการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรฐานสากล ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้บุคคลทุกระดับทั้งภายในและภายนอกองค์การตลาด เข้าถึงสิทธิที่พึงได้รับอย่าง ครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้ง สิทธิความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย สิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการทำงาน สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนได้รับการรับรองหรือคุ้มครองให้ไม่ถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ เพศ การนับถือศาสนา เป็นต้น จึงนำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เนันหลักนิติธรรม ความยุติธรรม และการไม่เลือกปฏิบัติเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงาน

3. หลักการปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor Practices)

องค์การตลาดมุ่งเน้นการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล อย่างเป็นระบบ ดูแลบุคลากรทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และส่งเสริมให้พนักงานทุกคนพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง ผ่านระบบพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน และมีระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมถึงส่งเสริมให้พนักงานสามารถ สร้างคุณค่าให้กับตนเอง องค์กร และสังคมได้ นอกจากนี้แนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรยังมุ่งเน้นการสื่อสารแบบสองทางเพื่อรับฟังและรวบรวมความคิดเห็นของพนักงานมาใช้ในการปรับปรุงระบบงานสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสวัสดิการสำหรับพนักงาน อย่างต่อเนื่อง

4. สิ่งแวดล้อม (Environment)

การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง กระบวนการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบโดยการวางแผนดำเนินงาน ติดตามประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้นโดยคำนึงถึงการใช้อย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดใช้ให้ได้ยั่งยืน ยาวนานตลอดไป ในการดำเนินกิจกรรมทุกประเภทขององค์กรซึ่งรวมทั้งการบริหารงานสิ่งแวดล้อมจะต้องประกอบด้วยการจัดการเป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะการจัดการที่ดีจะช่วยลดปัญหาต่างๆลงได้

5. การปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair Operating Practices)

การปฏิบัติที่เป็นธรรมในบริบทของ องค์การตลาด หมายถึง การประยุกต์ใช้หลักจริยธรรมในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ทั้งกลุ่มลูกค้า คู่ค้า ผู้ส่งมอบ คู่แช่งชัน ชุมชน และสังคม รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ อย่างเท่าเทียมและปราศจากการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนไม่ให้เกิดการผูกขาดทางการค้า การทุ่มตลาด และการจัดซื้อจัดจ้างที่ขาดความโปร่งใส ซึ่งเพื่อให้บรรลุได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด จึงนำแนวปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐาน ISO 26000 มาเป็นกรอบการดำเนินงาน โดยครอบคลุม ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การต่อต้านการทุจริต

6. ประเด็นด้านผู้ใช้บริการ (Consumer Issues)

องค์การตลาด ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยคำนึงถึงหลักการ ดังนี้

- การตลาดที่เป็นธรรม สารสนเทศ ที่เป็นจริงและไม่เบี่ยงเบนและการปฏิบัติตามข้อตกลงที่เป็นธรรม

- การคุ้มครองสุขภาพและ ความปลอดภัยของผู้บริโภค

- การบริโภคอย่างยั่งยืน

- การบริการ การสนับสนุน และการยุติ ข้อร้องเรียนและข้อโต้แย้งแก่ผู้บริโภค

- การปกป้องข้อมูลและความ เป็นส่วนตัวของผู้บริโภค

- การเข้าถึงบริการทางการเงินที่จำเป็น

7. การมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาชุมชน (Community Involvement and Development)

องค์การตลาดมุ่งมั่นที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการดูแลพื้นที่ ผู้คนและชุมชน ผู้ประกอบการค้าในตลาด ผู้ช่าพักอาศัยและและพนักงานในการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในกิจกรรมต่างๆ ที่จะตอบแทนชุมชนในการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น






 32
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์